เทคโนโลยี / คู่มือ / แนวปฏิบัติ / วิธีการ วิกฤตการเมืองกับสุขภาพจิต

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงเพื่อให้ได้รับการเยียวยาจิตใจ กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีความคิดเห็นขัดแย้งทางการเมือง กลุ่มผู้ดูแลเยียวยาจิตใจประชาชน และกลุ่มประชาชน โดยนำองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตเข้ามาใช้ในการดูแลจิตใจ ปรับทัศนคติความเห็นต่าง สร้างความหวัง และความเข้มแข็งในชุมชน ภายใต้โครงการรวมใจปรองดองสมานฉันท์ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิตได้จัดเตรียม คู่มือเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง สำหรับใช้ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และคู่มือการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง (Community Resilience) สำหรับการฟื้นคืนความสุขความเข้มแข็งของชุมชนให้กลับมา

ในช่วงทศวรรษที่ผ่นมาประเทศไทยได้ผชิญกับเหตุการณ์วิกฤตหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ และภัยน้ำมือมนุษย์ ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ช่น อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม วาตภัย ภัยแล้ง ภาวะสุขภาพ ภาวะเศษฐกิจ อุบัติเหตุหมู่ ไฟไหม้ สถานการณ์วิกฤตทางการเมืองและวิกฤตทางสังคม ฯลฯ เหตุการณ์วิกฤตดังกล่าวส่ผลกระทบทำให้เกิดความเสียหาย เป็นภัยร้ายแรงที่คุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ เช่น ภาวะเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-Traumatic Stress Disorder: PTSD) ภาวะซึมเศร้า ภาวะการติดสุรา สารเสพติด เป็นตัน กมสุขภาพตได้พัฒนาทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) ในหน่วยงานจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิตและเครือข่ายในทุกเขตสุขภาพ เพื่อปฏิบัติงานช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ในสถานการณ์วิกฤต ประสานความร่วมมือและร่วมปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ที่รับผิดชอบและในสถานการณ์วิกฤตระดับประเทศ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้