ผลวิจัยพบ บุคลากรสาธารณสุขมีภาวะหมดไฟระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านอายุ ภาระส่วนตัว ลักษณะงานที่ต้องดูแลผู้ติดเชื้อ และการขาดความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุข

Last updated: 18 ส.ค. 2565  |  290 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผลวิจัยพบ บุคลากรสาธารณสุขมีภาวะหมดไฟระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านอายุ ภาระส่วนตัว ลักษณะงานที่ต้องดูแลผู้ติดเชื้อ และการขาดความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุข

ภาวะหมดไฟของบุคลากรสาธารณสุขมักเกิดจากการปฏิบัติงานที่เครียดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จากการศึกษาเรื่อง "ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรสาธารณสุขจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)" เป็นการสำรวจในหน่วยงานต่างๆ ในสถานบริการสาธารณสุข พบว่า ความชุกของภาวะหมดไฟของบุคลากรสาธารณสุขไทยระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 พบสูงสุดในช่วงแรกของการระบาด อยู่ระหว่างร้อยละ 7.6 - 11.4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟ ได้แก่ อายุ ภาระส่วนตัว ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลผู้ติดเชื้อหรือสงสัยติดเชื้อ และการขาดความเชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขและมาตรการระดับจังหวัดในการป้องกันควบคุมโรค โดยผู้บริหารและองค์กรที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลจากผลการศึกษาไปใช้ในการดูแล วางแผน พัฒนาศักยภาพ และเฝ้าระวังบุคลากรสาธารณสุขไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่ต่อเนื่องและรุนแรง

อ่านเพิ่มเติมทาง : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/255376

#cite
วรวรรณ จุฑา, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, กมลลักษณ์ มากคล้าย, นพพร ตันติรังสี. ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรสาธารณสุขจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565;30(2):147-60.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้