ผลวิจัย ความสอดคล้องและความเที่ยงของ "แบบวัดมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืน ฉบับภาษาไทย"

Last updated: 21 ต.ค. 2565  |  463 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผลวิจัย ความสอดคล้องและความเที่ยงของ "แบบวัดมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืน ฉบับภาษาไทย"

จากความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวการข่มขืนที่สังคมมักโยนความรับผิดชอบให้ฝ่ายหญิง การศึกษาเรื่อง "ความสอดคล้องและความเที่ยงของแบบวัดมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืน ฉบับภาษาไทย" ศึกษาในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ที่ตอบแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 514 คน พบว่า แบบสอบถามวัดการยอมรับมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืน ฉบับภาษาไทย ที่พัฒนามาจาก Illinois rape myth acceptance scale, 1999 มีความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และความเที่ยง (internal consistency) อยู่ในระดับดี 6 ด้าน ได้แก่ "ผู้หญิงเป็นฝ่ายเรียกร้องเอง" "มันไม่ใช่การข่มขืน" "ผู้ชายไม่ได้ตั้งใจที่จะข่มขืน" "ผู้หญิงต้องการถูกข่มขืน" "ผู้หญิงเป็นฝ่ายโกหก" และ "การข่มขืนเป็นเรื่องแปลก" ส่วนด้าน “การข่มขืนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย” มีค่า Cronbach’s alpha อยู่ในระดับต่ำเนื่องจากข้อคำถามในด้านนี้มีความคิดเห็นที่หลากหลายแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยแบบสอบถามวัดการยอมรับมายาคติฯ นี้ สามารถนำไปพัฒนาต่อเนื่องเพื่อใช้ในงานวิจัยและการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาการข่มขืนได้
.
อ่านเพิ่มเติมทาง : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/255944
.
#cite
เนตรนภิศ กองอุดมการ, สิรินัดดา ปัญญาภาส, พรจิรา ปริวัชรากุล. ความสอดคล้องและความเที่ยงของแบบวัดมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืน ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565;30(3):199-210.
.
#วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย #ข่าวเผยแพร่วิชาการสุขภาพจิต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้